ตอบปัญหา ฮวงจุ้ย ดวงจีน ฤกษ์ยาม โปรแกรม > ประชาสัมพันธ์ / เรื่องน่ารู้

*** รวมหัวข้อ : บ้านดี ( ฮวงจุ้ยดี ) และสุขภาพดี

<< < (2/2)

fengshui:
มงคล 38 ข้อ 4

๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่
๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น
๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น
๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น

fengshui:

ท่านผู้ศึกษาฮวงจุ้ยพึงสังเกตุไว้ครับ

fengshui:
(1). Make your room dark = ทำห้องให้มืด

ห้องที่มืดน่านอนกว่าห้องที่สว่าง หรือมีแสงเล็ดลอดเข้าไปได้, การนอนในห้องที่มืดทำให้นาฬิกาชีวิตของคนเราทำงานได้ดีขึ้น
ฮอร์โมนที่ช่วยในการพักผ่อนหลับนอน เช่น เมลาโทนิน ฯลฯ หลั่งออกมาได้ดีขึ้น
.
การฝึกหรี่ไฟ หรือใช้ไฟแสงสว่างให้น้อยหน่อยตอนกลางคืน โดยเฉพาะก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง เช่น หรี่จอคอมพิวเตอร์ให้สว่างน้อยลง ฯลฯ
ช่วยให้คนเราพักผ่อนนอนหลับได้ดีขึ้น และเมื่อถึงเวลานอนแล้วก็ควรปิดไฟให้หมด

(2). Keep your room dark = รักษาความมืด (ให้ดี)
.
ช่วงเวลานอนควรอุด "รูรั่ว" ที่แสงจะเล็ดลอดเข้าไปในห้องนอน เช่น ใช้ม่านสีเข้มกันแสงจากภายนอก ฯลฯ, หลีกเลี่ยงการนำของที่สว่าง
หรือเรืองแสงได้เข้าไปในห้องนอน เช่น ถ้าใช้นาฬิกาปลุก... ควรเลือกที่ไม่เรืองแสงออกมา ฯลฯ

(3). Keep your room cold = ทำห้องให้เย็นสบาย

ห้องที่เย็นสบายคงจะทำให้คนเราหลับได้สบายขึ้น...
.
ทีนี้ถ้าปรับเปลี่ยนห้องไม่ได้, การอาบน้ำ ล้างหน้า-มือ-เท้า หรือใช้ถุงเจลร้อนเย็น (เช่น ของ 3M ฯลฯ - ทำให้เย็นโดยใส่ในตู้เย็นก่อน)
ประคบก่อนนอนสักพัก มักจะช่วยให้หลับได้สบายขึ้น

(4). Keep your room quiet = ทำห้องให้เงียบ
.
การสวดมนต์ ฝึกโยคะ (ท่าที่ช้า และช่วยในการผ่อนคลาย), ไทชิ หรือเดินจงกลมช้าๆ ตามด้วยบรรยากาศเงียบๆ ช่วยให้คนเราหลับได้ง่ายขึ้น
.
การลงทุนทำห้องนอนที่ลดเสียงรบกวน เช่น มีหน้าต่างไม่มาก และปิดหน้าต่างให้สนิท, ติดพัดลมดูดอากาศ ฯลฯ
.
การใช้ 'white noise' หรือเสียงเรื่อยๆ เช่น เสียงสวดมนต์ เสียงธรรมชาติ (เช่น เสียงน้ำไหล คลื่นกระทบฝั่ง ฯลฯ),
หรือดนตรีประเภทบรรเลงช้าๆ ช่วยได้เช่นกัน
.
ข้อควรระวังในการเปิดเสียงเรื่อยๆ กล่อมนอน คือ ควรเลือกชนิดที่ตั้งเวลาปิดได้ใน 30-60 นาที,
เนื่องจากคนเรามีวงจรการนอนหลับแบบลึกสลับกับแบบตื้น, ถ้าเปิดดังเท่าๆ กันอาจทำให้เราตื่นได้ในช่วงหลับตื้น
.

ถ้าจะเปลี่ยนบ้าน หอพัก หรือคอนโดมิเนียม... ควรลองไปดูสถานที่หลายๆ เวลา เพื่อสังเกตว่า เสียงรอบๆ ดังเกินไปหรือไม่,
เพื่อนบ้านมีมารยาทดีหรือไม่ (เช่น บางบ้านเมาเป็นประจำ จะได้หลีกเลี่ยง ฯลฯ)... จะได้เลือกสถานที่อยู่ให้มีเสียงรบกวนน้อย
เช่น ไกลจากถนนใหญ่พอประมาณ ฯลฯ
.
เครื่องช่วยอย่างหนึ่งในการลดเสียงรบกวน และมีราคาไม่แพง คือ จุกอุดหู (ear plugs - "เอีย ปลั๊ก") แบบอ่อนนุ่ม
ใช้อุดหูเพือ่ลดเสียงรบกวนได้ดี โดยเฉพาะเวลาเดินทาง
.
จุกอุดหูหรือ "เอีย ปลั๊ก" ใช้อุดหูเวลาอาบน้ำได้ด้วย คือ ถ้าเราทำหน้าตรง ไม่เอียงไปทางซ้ายหรือขวา และใช้จุกอุดหู จะทำให้น้ำไม่เข้าไปในรูหู
.
เมื่อน้ำไม่เข้าไปในรูหู... อาการคันรูหูหลังอาบน้ำจะลดลง ยิ่งถ้าเลิกใช้ไม้พันสำลี (cotton buds) ปั่นหูได้เลยยิ่งดี
ไม้พันสำลีมักจะทำให้ผิวด้านในรูหูอักเสบ แห้ง คัน และขี้หูอุดตันได้ง่าย


(5). Keep your room calm = ทำห้องให้สงบ
.
ห้องนอนไม่ควรจะมีสิ่งเร้า เช่น คอมพิวเตอร์, TV ฯลฯ, และน่าจะมีสิ่งที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น ภาพทิวทัศน์, แจกันดอกไม้ กระถางต้นไม้เล็กๆ ฯลฯ เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการพักผ่อนหลับนอน

fengshui:
เช้าๆเปิดไฟสีฟ้า-ค่ำๆเปิดไฟสีเหลือง

ศ.อับราฮัม เฮม และคณะจากมหาวิทยาลัยไฮฟา อิสราเอล (ตีพิมพ์ใน Chronobiology International) พบว่า
หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานแบบหลอดตะเกียบ (compact fluorescent lamps / CFLs) ชนิดเดย์ไลท์ (daylight = แสงแดด) ซึ่งให้แสงสีฟ้าค่อนข้างมากคล้ายแสงแดด อาจรบกวนการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) มากกว่าหลอดรุ่นเก่า (หลอดชนิดมีไส้)
หลอดไฟชนิดมีไส้ (filament bulbs) หรือหลอดกลมแบบเก่า ให้แสงสีเหลืองค่อนข้างมาก น่าจะกดการสร้าง-หลั่งเมลาโทนินน้อยกว่าหลอดประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ หรือหลอดนีออน (ฟลูออเรสเซนท์)

เมลาโทนินสร้างจากต่อมไพเนียล (pineal gland) ในสมอง ช่วยให้ร่างกายเข้าสู่วงจรพักผ่อน-นอนหลับ
และอาจช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก
.
ฮอร์โมนนี้หลั่งออกมากตอนกลางคืน ซึ่งถ้ามีแสงสว่างรบกวน อาจทำให้การสร้าง-การหลั่งฮอร์โมนลดลง
ไม่ว่าจะเปิดไฟกลางคืนตอนตื่นนอน หรือตอนหลับ, เปิดตาหรือปิดตาก็ตาม
.
ก่อนหน้านี้มีผู้สังเกตว่า คนที่ทำงานเป็นกะ หรือเข้าเวร (shift workers) มักจะป่วยด้วยโรคบางอย่างบ่อยกว่าคนทั่วไป
.
ศ.เฮมอธิบายว่า แสงสว่างตอนนอนหลับเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม 22%
.
หลอดนีอออน เช่น หลอดตะเกียบ ฯลฯ ได้รับการออกแบบมาให้มีแสงสีฟ้าในช่วงคลื่นประมาณ 460 นาโนเมตรมากขึ้น
เพื่อประหยัดพลังงาน และลดภาวะโลกร้อน
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การได้รับแสงสีฟ้า 2 ชั่วโมงตอนค่ำๆ ทำให้การสร้างเมลาโทนินลดลงมากกว่าแสงสีเหลือง (ช่วงคลื่น 550 nm)
หลอดไฟที่ให้แสงสีฟ้ามาก (ชนิดเดย์ไลท์) มีส่วนทำให้คนตื่นตัว (alert) มากขึ้น การเผาผลาญกำลังงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
(ร่างกายจะอุ่นมากขึ้น), และชีพจรจะเร็วขึ้นเล็กน้อย
.
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป
ทว่า... บอกเป็นนัยว่า ถ้าอยากจะ "ปลอดภัยไว้ก่อน" น่าจะทำอย่างนี้

(1). เปิดหลอดไฟชนิดเดย์ไลท์ (มีแสงสีฟ้ามาก) ตอนกลางวัน
(2). เปิดหลอดไฟชนิดวอร์มไวท์ (มีแสงสีเหลืองมาก) ตอนกลางคืน และควรหลีกเลี่ยงการเปิดไฟจ้าตอนกลางคืน
(3). ไม่เปิดไฟนอน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version