29 มี.ค. , 2024, 11:01:15 am

Author Topic: *** ไม้ประดับเพื่อชีวิต : กำจัดสารพิษในบ้าน โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ทำใหม่  (Read 7674 times)

fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
ในบ้าน-ในที่ทำงานยังมีสารพิษอีกหรือ ?
          การใช้ชีวิตปัจจุบันต้องอาศัยเครื่องอุปโภคบริโภคมากมายซึ่งทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หลากหลาย เป็นต้นว่า
พลาสติก วัสดุเคลือบผิวของใช้ต่าง ๆ ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง สิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้คือที่มาของสารพิษในอากาศ
ในอาคารบ้านเรือนและที่ทำงานพบสารที่เหมือน ผู้ร้ายสามตัว คือ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทธีลีน (TCE) และเบนซีน มากที่สุด

ฟอร์มัลดีไฮด์ 
          เป็นสารที่พบได้ง่ายในสิ่งแวดล้อม ในอาคาร ไม่ว่าในบ้านหรือที่ทำงาน แหล่งสำคัญ ได้แก่ โฟม พลาสติก (ชนิดยูเรีย ฟอร์มัลดีไฮด์)
ที่ใช้ฉนวน ในไม้อัดกาว (particle board) ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์สำนักงานในปัจจุบัน ในกระดาษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระดาษเช็ดมือ-เช็ดหน้า กระดาษห้องน้ำรวมทั้งถุงบรรจุของ  กระดาษไข (ที่ใช้รองอาหาร) สารทำความสะอาดในบ้านหลายตัวมีฟอร์มัลดีไฮด์เป็นสารประกอบ
ผลิตภัณฑ์ ในอาคารหลายชนิดใช้ยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์เรซิน เช่น วัสดุเคลือบผิวพื้นกระดาษปิดผนัง แผ่นหลัง ของพรม เสื้อผ้าอัดกลีบถาวร
พวกนี้ถูกเคลือบหรือพ่นด้วยยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์เรซินทั้งนั้น  แหล่งอื่นๆ  ที่อาจปล่อยสารฟอร์มัลดีไฮด์ ได้แก่  เชื้อเพลิงหุงต้ม เช่น  แก๊สหุงต้ม น้ำมันก๊าด และแม้แต่ควันบุหรี่ก็มีสารนี้เป็นส่วนประกอบ

ฟอร์มัลดีไฮด์ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกในดวงตา จมูก และลำคอ ยิ่งไปกว่านั้นฟอร์มัลดีไฮด์ยังเป็นสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี
ได้ง่าย สามารถรวมตัวกับโปรตีนได้ง่ายมาก จึงทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง แต่ก่อนที่รายงานเพียงว่าการสัมผัสกับฟอร์มัลดีไฮด์ทำให้เกิดการระคายเคืองตา และปวดศีรษะการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าโรคร้ายแรงที่เกิดจากฟอร์มัลดีไฮด์ คือ  หอบหืด 

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาของ Environmental Protection Agency (EPA) ของอเมริกาได้ศึกษาวิจัย ซึ่งได้ผลสรุปว่า หอร์มัลดีไฮด์น่าจะเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งลำคอของผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเคลื่อนที่ (mobile homes) ซึ่งคือรถตู้ที่คนตะวันตก 
ใช้เป็นบ้านอยู่อาศัยและเปลี่ยนที่จอดไปเรื่อยๆ

.....

ไม้ประดับเพื่อชีวิต...  ดูดสารพิษแทนเรา
          การวิจัยของ NASA ที่ต้องการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการมีชีวิตของมนุษย์อวกาศ ทำให้ได้ผลพลอยได้ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในพื้นผิวโลก โครงการหนึ่งนั้นคือ Interior Landscape Plants for Indoor Air Pollution Abatement ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่าง  NASA กับ ALCA (Associated Landscape Contractors of America) เพื่อค้นหาสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัยจากสารพิษตามวิธีการทางธรรมชาติ คือใช้ต้นไม้ที่อยู่กับมนุษย์ได้ดีที่สุดตลอดเวลา โครงการได้ทดสอบต้นไม้หลายชนิดที่ใช้ปลูกประดับภายในอาคาร

          ผลการศึกษาพบว่าไม้ประดับที่มีประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษในอากาศได้ดีเป็นไม้เมืองร้อน ชนิดที่มีอยู่ดาษดื่นในบ้านเราและเป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ไม่ต้องการดูแลพิเศษใด ๆ เลย แล้วทำไมเราจึงจะไม่ใช้ประโยชน์จากความรู้นี้บ้างหรือ

          ไม้ประดับภายในอาคารไม่ใช่เพียงแต่ให้ความสดใสแก่อาคารเท่านั้น แต่ยังช่วยขจัดสารพิษและฟอกอากาศภายในอาคารอีกด้วย ผลการวิจัยให้ข้อสรุปว่าไม้แต่ละชนิดสามารถขจัดสารพิษได้เฉพาะอย่าง บางชนิดก็ขจัดได้หลายสาร แต่ปริมาณอาจต่ำ

          การทดสอบของ Dr.Wolverton ที่ทดสอบการดูดสารพิษของไม้ประดับ ในห้องปิดที่มีพื้นที่เท่าห้องปกติ (ประมาณ 10 ตารางเมตร)
และมีสารเบนซีนที่มีความเข้มข้น 0.235 ppm เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่า ตีนตุ๊กแกฝรั่งขจัดเบนซีนได้ถึง 90% แต่ขจัด TCE
(ความเข้มข้นเริ่มต้น 0.174 ppm) ได้เพียง 11% การทดสอบกับเดหลี พบว่าสามารถขจัดเบนซีน (ความเข้มข้นเริ่มต้น 0.166 ppm) ได้ 80% ขจัดฟอร์มัลดีไฮด์ (ความเข้มข้นเริ่มต้น 10.0 ppm) ได้ 50% และขจัด TCE (ความเข้มข้นเริ่มต้น 20.0 ppm) ได้ถึง 50% เป็นต้น

          ต่อไปนี้จะเป็นรายชื่อของไม้ประดับที่มีประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษเฉพาะอย่างตามการแนะนำของ Dr.Wolverton 
อย่างไรก็ตามพึงระลึกไว้เสมอว่ามีไม้ประดับอีกหลายชนิดที่แม้ไม่มีในรายชื่อในการกำจัดเฉพาะสาร
แต่ก็สามารถขจัดสารพิษรวม ๆ ได้หลายสารแต่อาจจะมีอัตราการขจัดที่ต่ำกว่า


ไม้ประดับขจัดฟอร์มัลดีไฮด์
          ไม้ที่ขจัดสารฟอร์มัลดีไฮด์ความเข้มข้นสูงได้ดีที่สุด ได้แก่ ปาล์มไผ่ วาสนา ลิ้นมังกร วาสนาอธิษฐาน เดหลี เศรษฐีเรือนใน
ฟิโลเดรนดรอน และพลูด่าง แต่ที่ความเข้มข้นต่ำ ว่านหางจระเข้จะดูดได้ดีกว่า

ไม้ประดับขจัดไตรคลอโรเอทธีลีน (TCE)
          ไม้ประดับภายในอาคารห้าชนิด ได้แก่ เยอร์บีร่า วาสนาอธิษฐาน เดหลี วาสนา และปาล์มไผ่
พบว่ามีประสิทธิภาพในการขจัดสาร TCE ได้ดีที่สุด

ไม้ประดับขจัดสารเบนซีน
          ไม้ประดับที่ขจัดสารเบนซีนได้ดีมากได้แก่ เยอร์บีร่า เบญจมาศ เดหลี วาสนาราชินี ปาล์มไผ่ ตีนตุ๊กแกฝรั่ง และ ลิ้นมังกร

ไม้ประดับขจัดคาร์บอนมอนนอกไซด์
          ไม้ประดับที่ขจัดสารคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้ดีมากได้แก่ เศรษฐีเรือนใน และ พลูด่าง


คัดลอก ย่อจาก
http://www.vcharkarn.com/varticle/38376

fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
การลดความเครียดด้วยต้นไม้ โดยเป็นทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์วีเจียน ร่วมกับมหาวิทยาลัย Uppsala ประเทศสวีเดนที่พบว่า
การมีกระถางต้นไม้ในออฟฟิศสามารถบรรเทาความเหนื่อยล้า ลดอาการเครียด ปวดศีรษะ ไอ
และป้องกันไม่ให้ผิวหนังแห้งได้ในหมู่พนักงาน
       
โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยครั้งนีเป็นพนักงานออฟฟิศ 385 ราย นักวิจัยได้เปรียบเทียบจำนวนการขาดงานเพราะปัญหาสุขภาพ
กับจำนวนของต้นไม้ที่แต่ละคนสามารถมองเห็นได้จากโต๊ะทำงานของตนเอง
ผลลัพธ์ก็คือ พนักงานที่มีโอกาสมองเห็นสีเขียวของต้นไม้รอบ ๆ ตัวได้มากนั้น
มีโอกาสลางานจากการป่วยน้อยกว่าคนที่รอบตัวไม่ค่อยมีต้นไม้
       
ดร. Tina Bringslimark ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม หัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า
"กรณีนี้สามารถอธิบายได้ว่า พืช และจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินนั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์
อีกทั้งในทางจิตวิทยาแล้ว มนุษย์เชื่อว่า การมีธรรมชาติอยู่ล้อมรอบนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์เรา
และสามารถทำให้คน ๆ นั้นมองโลกในแง่ดีได้มากขึ้น"
       
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาที่พบว่า การมีกระถางต้นไม้ในออฟฟิศยังส่งผลดีต่อพนักงานในอีกหลาย ๆ ด้าน
เช่น ได้ผลงานที่น่าพึงพอใจมากกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า และทำได้เร็วกว่าการทำงานชนิดเดียวกันในห้องที่ไม่มีต้นไม้ถึง 12 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนั้น พนักงานยังมีความเครียดน้อยกว่า และความดันโลหิตก็ต่ำกว่าด้วย
       
"การศึกษาครั้งนี้ช่วยยืนยันว่า การมีต้นไม้ในอาคารช่วยลดระดับความเครียดลงได้" Dr Virginia Lohr
หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันกล่าว อีกทั้งทีมวิจัยของเธอยังพบว่า
ในอาคารที่มีต้นไม้นั้น มีปริมาณฝุ่นน้อยกว่าถึง 20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
       
ทั้งนี้ ดร. Bringslimark แนะนำด้วยว่า พืชที่ควรปลูกในอาคารไม่่ใช่พืชอะไรก็ได้ แต่ควรเป็นไม้ใบมากกว่าไม้ดอก
ยิ่งใบไม้มีขนาดใหญ่ยิ่งดี เพราะพื้นที่สีเขียวที่ต้นไม้มีนั้น จะช่วยผลิตออกซิเจนให้กับอาคาร
และช่วยลดอากาศพิษต่าง ๆ ที่อยู่ในอากาศลงได้นั่นเอง

ที่มา : ผู้จัดการ