20 เม.ย. , 2024, 01:32:24 pm

Author Topic: *** ศาสนา : 10 โรคพระไทย+ถวายอะไรพระดี ***  (Read 4784 times)

fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
10 โรคพระไทย+ถวายอะไรพระดี

มติชน 26 สิงหาคม 2552 ตีพิมพ์ข่าว 10 โรคพระสงฆ์ไทย ชวนคนไทยถวายอาหารดีมีประโยชน์

...

การทำบุญอย่างหนึ่งของคนไทย คือการถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์  พบว่า

ปัจจัยที่ถวายสำหรับพระสงฆ์ โดยเฉพาะภัตตาหารนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของพระสงฆ์

จากข้อมูลของโรงพยาบาลสงฆ์พบว่า

ในแต่ละปีพระสงฆ์อาพาธและเข้ามารับการรักษาที่ รพ.สงฆ์กว่า 50,000 รูป
อย่างในปี 2549 มีมากถึง 71,000 รูป โดยกว่าร้อยละ 50 เป็นพระสงฆ์จากส่วนภูมิภาค

สำหรับโรคที่พระสงฆ์อาพาธมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ถุงลมโป่งพอง, โรคกระดูกเสื่อม, ข้อเข่าเสื่อม,
โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไขมันหลอดเลือดสูง, โรคฟันผุ, โรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก, เหงือกอักเสบ และโรคท้องเสีย

โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพระสงฆ์นั้น หลายโรคล้วนแล้วแต่มาจากการถวายภัตตาหารที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ถวาย
เช่น โรคดันความโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไขมันหลอดเลือดสูง, โรคฟันผุ, โรคท้องเสีย

ซึ่งภัตตาหารที่ถวายเต็มไปด้วยแป้ง น้ำตาล และไขมัน อีกทั้งบรรดาเครื่องดื่มต่างๆ ก็มักจะเป็นจำพวกน้ำหวานเป็นหลัก
โรคต่างๆ เหล่านี้จึงเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลย

...

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาถวายสิ่งที่สมควรแด่สงฆ์ เช่น ข้าวกล้อง

แชมพู (พระส่วนใหญ่ใช้แชมพูสระศีรษะ เนื่องจากถ้าใช้สบู่แล้ว อาจทำให้หนังศีรษะแห้ง หรือคันได้มากกว่าใช้แชมพู) ฯลฯ

...

ถ้าเป็นไปได้... ญาติโยมควรมีส่วนส่งเสริมให้พระบิณฑบาตตามพระวินัย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ทั้งพระและโยมป่วยกัน คือ การออกแรง-ออกกำลังน้อย และ/หรือบริโภคมาก

...

ภาวะขาดน้ำและการยืนนานๆ หรือนั่งนานๆ ไม่ว่าจะนั่งเก้าอี้หรือนั่งพื้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อเสื่อม

เนื่องจากกระดูกอ่อน (กิโลมกัง) ของข้อต่อมีเลือดไปเลี้ยงน้อยมาก อาศัยน้ำไขข้อ (ลสิกา) หล่อเลี้ยง ซึมซาบเข้าออก
ทำให้ได้รับออกซิเจน น้ำ สารอาหาร และขับถ่ายออกเสียงออกได้

...

การนั่งนานๆ-ยืนนานๆ-อยู่นิ่งนานๆ ทำให้กระดูกอ่อนขาดอาหาร และเสื่อมเร็ว

การสนับสนุนให้ทั้งพระทั้งโยมมีโอกาสเดิน โดยเฉพาะบิณฑบาต, ขึ้นลงบันไดวันละ 7 นาที
(ถ้าไม่ดีจริง, สำนักสุขภาพแห่งชาติหรือ NHS UK คงจะไม่กล้าสนับสนุนให้คนทั้งประเทศทำกัน),
และบริโภคพอประมาณ (โภชเนมัตตัญญุตา) มีส่วนป้องกันโรคได้อย่างมากมาย