19 เม.ย. , 2024, 11:32:28 am

Author Topic: *** สขุภาพ : 8 เรื่องที่ผู้หญิงนอนไม่เหมือนผู้ชาย  (Read 5307 times)

fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

อาจารย์ Lucy Elkins ตีพิมพ์คำตอบเรื่องความต้องการเวลานอนใน Mailonline / Dailymail.co.uk

(1). ผู้หญิงต้องการเวลานอนมากกว่าผู้ชาย

ศ.จิม ฮอร์น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการนอน มหาวิทยาลัยลัฟเบอหร่า (Loughborough U)
กล่าวว่า ผู้หญิงต้องการเวลานอนมากกว่าผู้ชายเฉลี่ย 20 นาที/คืน

...

กลไกที่เป็นไป ได้ คือ สมองผู้หญิงทำงานหนักกว่าผู้ชาย และทำงานพร้อมกันหลายอย่าง
หรือทำงานสลับกันหลายอย่างแบบรวดเร็ว

การนอนหลับในช่วงหลับลึก (deep sleep) ช่วยให้สมองส่วนนอก (cortex) ที่ทำหน้าที่คิดและจำหยุดรับรู้ชั่วคราว
และเข้าสู่กระบวนการพักฟื้น (recovery mode)

...

(2). คนที่ใช้สมองมากมีแนวโน้มจะต้องการนอนนานขึ้น

คนที่ทำงานซับซ้อน (complex job) ประเภทที่ต้องทำการตัดสินใจ (decision-making)
และคิดทางข้าง (lateral thinking) มีแนวโน้มจะต้องการเวลานอนมากขึ้น

...

'lateral thinking' เป็นกลุ่มคำที่ Edward de Bono ตั้งขึ้น  ใช้เรียกกระบวนการคิดนอกกรอบ
ใช้เหตุผลหรือตรรกะน้อยลง ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ใช้สมองซีกขวามากขึ้น

ตัวอย่างคนที่ทำงานแบบคิดทางข้างมาก เช่น ศิลปิน ดีไซเนอร์ นักออกแบบ ครีเอทีฟ ฯลฯ,
เรื่องนี้อาจช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมนักศึกษาที่เรียนสายศิลป์มีแนวโน้มจะนอนเก่งกว่าสายวิทย์

...

ศ.ฮอร์นกล่าว ว่า การที่สมองผู้หญิงมีโอกาสพักผ่อนนอนหลับมากขึ้นอาจช่วยอธิบายได้ว่า
ทำไมสมองผู้หญิงที่อายุ 75 ปี มีสมรรถนะใกล้เคียงกับสมองผู้ชายที่อายุ 70 ปี

...

(3). ผู้หญิงมีปัญหาเรื่องการนอนสูงกว่าผู้ชาย

ผู้ใหญ่ต้องการนอนกลางคืน 6-8 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยประมาณ 7 ชั่วโมง โดยผู้หญิงต้องการนอนมากกว่าผู้ชาย 20 นาที
ทว่า... ชะตากรรมอาจกำหนดให้ผู้หญิงเป็นโรคนอนไม่หลับ หรือนอนไม่พอมากกว่าผู้ชาย

...

การศึกษาจาก นอร์ธ แคโรไลนา US พบว่า ผู้หญิงมีภาวะนอนไม่พอมากกว่าผู้ชาย
แต่วงจรการนอนของผู้หญิงกลับมีช่วงนอนหลับลึกน้อยกว่า - นอนหลับตื้นมากกว่าผู้ชาย ทำให้ถูกรบกวนในระหว่างการนอนสูงกว่า
เช่น ถ้าคู่นอนกรน... ผู้หญิงจะหลับๆ ตื่นๆ มากกว่า ฯลฯ (American Academy of Sleep Medicine)

ช่วงหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงนอนหลับยากขึ้น คือ ระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
และการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น (รวมมดลูก-เด็ก-รก-น้ำคร่ำ) ทำให้นอนหงายได้ยาก

...

ช่วงต่อไป คือ วัยหมดประจำเดือนอาจนอนหลับยากขึ้นจากอาการร้อนวูบๆ วาบๆ (hot flush)

การนอนหลับจะเริ่มจากการหลับลึกในช่วงแรกๆ และหลับตื้นขึ้นในช่วงกลางๆ จนถึงช่วงหลัง,
ช่วงที่หลับตื้นขึ้นเป็นช่วงที่ถูกรบกวนจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น เสียงรบกวน ฯลฯ ได้ง่าย

...

(4). เสียงรบกวนที่มีความหมายทำให้คนตื่นมากกว่าเสียงที่ไม่มีความหมาย

นักวิทยาศาสตร์พบว่า เสียงอะไรที่เกี่ยวข้องกับตัวเองทำให้คนๆ นั้นตื่นได้ง่ายกว่าเสียงที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งๆ ที่กำลังหลับอยู่

...

ตัวอย่างเช่น ถ้ามีนายกอนอนหลับอยู่ใกล้ๆ กับนางขอ,
และมีเสียงปลุก "ขอ ขอ" อาจทำให้นางขอตื่นง่ายกว่าเสียงเรียบๆ เรื่อยๆ (เช่น เสียงพัดลม ฯลฯ) ที่ดังเท่าๆ กัน  ฯลฯ

เรื่องหนึ่งที่พบบ่อย คือ เสียงคุณลูกปลุกคุณแม่ง่ายกว่าปลุกคุณพ่อ ฯลฯ

...

(5). คู่นอนตัวเบาหลับๆ ตื่นๆ ง่ายกว่า

ศ.ฮอร์นทำการศึกษาพบว่า คู่นอนที่หนักไม่เท่ากัน, ฝ่ายที่ตัวเบากว่ามีแนวโน้มจะหลับๆ ตื่นๆ จากเสียงของฝ่ายที่ตัวหนักกว่าเป็นส่วนใหญ่

...

(6). ผู้หญิงตื่นแล้วกลับไปหลับใหม่ได้ยากกว่า

การ ศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ (Surray U) พบว่า ผู้หญิงที่หลับแล้วตื่นขึ้นมา กลับไปหลับใหม่ได้ยากกว่า
โดยเฉพาะถ้านอนกับคู่นอนเลวๆ (bad partner = ในที่นี้หมายถึงคู่นอนที่ทำเสียงดัง เช่น กรน ฯลฯ)

...

(7). ผู้หญิงเป็นโรคนอนไม่หลับมากกว่าผู้ชาย

การศึกษาทำโดยมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ พบว่า ผู้หญิงที่นอนไม่หลับสนิท 5 วัน/สัปดาห์ = 18% ขณะที่ผู้ชายมีปัญหาแบบนี้ = 8%

...

การศึกษาเกือบทั้งหมดพบว่า ผู้หญิงมี "เรื่องให้คิด" ตอนเข้านอนมากกว่าผู้ชาย... เลยนอนไม่ค่อยหลับ

...

(8). คนเด่นคนดังจำนวนมากอาศัยการงีบกลางวัน

การ ศึกษาจากเนเธอร์แลนด์พบว่า คนเด่นคนดังจำนวนมากอาศัยการงีบกลางวัน
(siesta = นอนตอนบ่าย มักเป็นหลังอาหารเที่ยง เป็นธรรมเนียมยุโรปใต้)

...

ท่านมาร์กา เร็ต แธตเชอร์ และท่านวินสตัน เชอร์ชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรี UK ได้นอนคืนละ 4 ชั่วโมงในช่วงทำงานหนัก
ทำให้ต้องใช้เวลางีบตอนกลางวันชดเชย

ศ.ฮอร์น แนะนำว่า ถ้านอนไม่หลับทั้งคืน... คืนต่อไปไม่จำเป็นต้องนอน 14 ชั่วโมง,
การนอนชดเชย (recoup) ใช้เวลาประมาณ 1/3-1/2 ของ 7 ชั่วโมง =2.3-3.5 ชั่วโมง (ค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงนอนผู้ใหญ่ = 7 ชั่วโมง) ก็พอ

...

ประเด็นสำคัญของการนอนชดเชย คือ นอนหลับให้สนิท โดยเฉพาะการหลับลึกในช่วงแรกๆ ของการนอน

การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำช่วยให้คุณภาพของการนอน คือ การนอนหลับลึกดีขึ้น