ตอบปัญหา ฮวงจุ้ย ดวงจีน ฤกษ์ยาม โปรแกรม > ประชาสัมพันธ์ / เรื่องน่ารู้
สุขภาพ : เกี่ยวกับ แม่และเด็ก การตั้งครรภ์
fengshui:
คุณแม่รับแดดอ่อนทำกระดูกคุณลูกแข็งแรง
อาจารย์เอเดรียน เซเยอร์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยบริสทอล อังกฤษ (UK) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างเกือบ 7,000 คน ติดตามไป 10 ปี
พบว่า คุณแม่รับแดดอ่อนๆ ยามเช้า-ยามเย็นช่วง 3 เดือนสุดท้ายทำให้กระดูกคุณลูกแข็งแรงขึ้น
กลไกที่อาจเป็นไปได้คือ การได้รับแสงแดดอ่อนทำให้ผิวหนังคุณแม่สร้างวิตามิน D
วิตามิน D ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอีกต่อหนึ่ง
อาหารที่มีวิตามิน D สูงได้แก่ ปลาทะเล กุ้ง ไข่ ผลิตภัณฑ์นมเสริมวิตามิน D
fengshui:
โฟเลตลดเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ผลการศึกษาพบว่า การกินโฟเลต (folate, folic acid) ซึ่งเป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่งอย่างน้อย 1 ปีก่อนตั้งครรภ์
ช่วยลดเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) การคลอดก่อนกำหนดได้มากจนถึง 70% (up to = มากจนถึงระดับหนึ่ง ไม่เกินกว่านั้น)
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินโฟเลตตั้งแต่เริ่มคิดว่า จะมีลูก (ก่อนตั้งครรภ์หรือตั้งท้อง) จนถึง 12 สัปดาห์หลังตั้งครรภ์
มีส่วนช่วยลดความผิดปกติของสมอง-ไขสันหลังเด็กในท้องได้
...
อ.ดร.ราเดค บูโควสกี (Radek Bukowski) และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐฯ
ทำการศึกษาข้อมูลจากคนท้องเกือบ 35,000 ราย ในจำนวนนี้มีคนคลอดก่อนกำหนดมากกว่า 1,600 ราย
ผลการศึกษาพบว่า การกินโฟเลต หรือกรดโฟลิคตั้งแต่คิดจะมีลูกช่วยลดเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) ของการคลอดก่อน 28 สัปดาห์ได้ 70%
และลดเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดช่วงท้ายๆ คือ 28-32 สัปดาห์ได้ครึ่งหนึ่ง
อ.บูโควสกีแนะนำให้ผู้หญิงวิตามินโฟเลต (folic acid) วันละ 0.4 มิลลิกรัม
ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับที่ใช้ป้องกันความผิดปกติของสมอง-ไขสันหลังของเด็กในครรภ์
fengshui:
โฟเลตป้องกันโรคหัวใจเด็กในครรภ์
กฏหมายสหรัฐฯ และแคนาดาบังคับให้มีการเติมวิตามิน B ที่ชื่อ "โฟเลต (folate, folic acid)" ในแป้งทำขนมปัง
กฏหมายนี้ยังไม่บังคับใช้ในยุโรป
อ.หลุยส์ ปิโลเต (Louise Pilote) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill) ในมอนทรีอาลทำการศึกษาพบว่า
ปี 1988 แคนาดาบังคับให้มีการเติมโฟเลตในอาหารบางอย่าง ทำให้ความผิดปกติของหัวใจเด็กในครรภ์รัฐควิเบค แคนาดา ลดลง 6% ต่อปี
...
ทุกวันนี้รัฐบาล 67 ประเทศ "แนะนำ" ให้เติมโฟเลตในขนมปัง ในจำนวนนี้ 47 ประเทศใช้วิธีบังคับ
โฟเลตช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ใหม่ เช่น การสร้างอวัยวะเด็กในครรภ์ การสร้างเม็ดเลือด ฯลฯ
ประเด็นสำคัญคือ ต้องกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จึงจะได้ผลดี ไม่ใช่มากินหลังตั้งครรภ์แล้ว
เนื่องจากการสร้างอวัยวะ โดยเฉพาะสมองและไขสันหลัง เริ่มต้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
อาหารที่มีโฟเลตสูงได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง (เช่น ถั่วเหลือง ฯลฯ)
ถั่วเมล็ดเปียก (เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ) ถั่วเปลือกแข็ง (nut)
...
อ.ปิโลเตและคณะทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคุณแม่ที่มีลูกผิดปกติรุนแรงในรัฐควิเบกพบว่า
ถึงแม้จะมีการเติมโฟเลตในแป้งแล้ว แต่คุณแม่จำนวนมากก็ยังได้รับวิตามินนี้ไม่มากพอ
แสดงว่า คุณแม่จำนวนมากกินข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ ถั่ว และเห็ดน้อยเกินไป
...
"ว่าที่คุณแม่" หรือคนที่คิดจะมีลูกปรึกษาหมอใกล้บ้าน เพื่อกินโฟเลตเสริม กินข้าวกล้อง ถั่ว ผัก ผลไม้ให้มากพอเป็นประจำ
นอกจากนั้นท่านที่บริจาคเลือดแล้วเพลีย หรือมีปัญหาเลือดลอยในการบริจาคเลือด
ควรปรึกษาหมอใกล้บ้านว่า มีโรคเลือดจางธาลัสซีเมียหรือไม่...
ถ้าไม่มี (ผู้บริจาคเลือดที่เคยบริจาคมาแล้ว เกือบทั้งหมดจะไม่มีโรคเลือดจางชนิดนี้ เนื่องจากภาวะเลือดจางจะทำให้เลือดลอย)
ควรกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก วิตามิน B รวม (เน้นชนิดที่มี B12) และโฟเลต(หรือกรดโฟลิค)เสริม จะได้หายเพลียเร็ว
fengshui:
เพลงกล่อมเด็กช่วยลูกน้อยแข็งแรง+โตเร็ว
การศึกษาใหม่พบว่า โรงพยาบาลที่เปิดเพลงเบาๆ กล่อมเด็กคลอดก่อนกำหนด ช่วยให้เด็กพักผ่อนได้ดีขึ้น(โยเยน้อยลง) น้ำหนักเพิ่มดีขึ้น
และที่สำคัญคือ ทำให้พ่อแม่เด็กมีอาการดีขึ้นด้วย (พ่อแม่หลายๆ รายมีอาการหนัก หงุดหงิด งุ่นง่าน ขี้บ่น วิตกกังวลมากกว่าลูกหลายเท่า)
คณะวิจัยจากแคนาดาทำการทบทวนผลการศึกษา 9 รายงานพบว่า ดนตรีเบาๆ ช่วยลดความเจ็บป่วย และช่วยให้การป้อนนมเด็กทำได้ดีขึ้น
ดนตรีมีส่วนช่วยให้ร่างกายของเด็กๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดี ซึ่งวัดได้หลายทาง เช่น ชีพจร การหายใจ ฯลฯ
ตอนนี้หน่วยทารกแรกเกิดหันมาใช้ดนตรีมากขึ้นเรื่อยๆ
การศึกษา 6 รายงานจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ทาพบว่า ดนตรีช่วยลดอาการเจ็บปวดของเด็กที่เข้ารับการทำการตรวจรักษา
เช่น การขริบอวัยวะเพศชาย การเจาะเลือดจากส้นเท้าไปตรวจ ฯลฯ
...
การศึกษา 1 รายงานพบว่า ดนตรีช่วยให้การป้อนนมดีขึ้น
ส่วนอีก 2 รายงานพบว่า เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและความประพฤติไปในทางที่ดีขึ้น
การศึกษาเกือบทั้งหมดใช้เพลงกล่อมเด็ก (lullabies) เป็นหลัก
มีเสียงอื่นบ้างไม่มีบ้าง เช่น เสียงหัวใจเต้น เสียงในมดลูก (บันทึกเสียงแบบนี้ผ่านทางหน้าท้องคุณแม่ได้) ฯลฯ
...
การศึกษา 1 รายงานใช้เสียงพิเศษ คือ เสียงกลุ่มเด็กที่ไม่มีคำพูด (wordless lullaby) ที่ใช้เสียงผู้หญิงร้อง และมีพิณฮาร์พคลอ
โรงพยาบาลอื่นๆ ใช้ดนตรีบรรเลงคลาสสิค เช่น เพลงโมซาร์ท ฯลฯ
...
อ.ดร.มาโนช กุมาร์ (คนอินเดียชอบใช้ชื่อ "มาโนช" มาก; "กุมาร์" = "กุมาร") และคณะกล่าวว่า ภาพรวมของเพลงเบาๆ กล่อมเด็ก คือ ได้ผลดี
ศ.นพ.แอนดรูว์ เชนนาน (Andrew Shennan) สูติแพทย์ แห่งมูลนิธิเด็กทอมมีกล่าวว่า
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา... อังกฤษ(UK)มีเด็กคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น
สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีลูกตอนอายุมากขึ้น...
ภาวะคลอดก่อนกำหนดเพิ่มเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) โรคแทรกซ้อน
เช่น หูหนวก ตาบอด ปัญญาอ่อน โรคปอดเรื้อรัง ปัญหาพฤติกรรม การเรียนรู้ช้าหรือบกพร่อง ฯลฯ
เด็กอังกฤษที่ตายในเดือนแรกเป็นผลจากภาวะคลอดก่อนกำหนด (ก่อน 37 สัปดาห์) 75%
สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดมีมากมาย เช่น การสูบบุหรี่ของแม่ การติดเชื้อในครรภ์ ครรภ์แฝด ฯลฯ
fengshui:
วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด
ท่าน อ.นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า
สถิติคลอดก่อนกำหนดในไทยยังน่าห่วงมาก คือ 64,000-80,000 คน/ปี [ ไทยรัฐ ]
การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กแรกคลอดตายหรือพิการ
...
กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดที่อาจารย์กล่าวไว้ได้แก่
(1). หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี > ช่วงที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์ คือ 20-30 ปี
และควรกินผัก-ผลไม้ทั้งผล หรือวิตามินบีที่ชื่อ "กรดโฟลิค - โฟเลต (folic acid / folate)" ล่วงหน้าก่อนคิดจะตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป
เพื่อลดโอกาสระบบประสาท (หัวกะโหลก-สมอง-ไขสันหลัง-กระดูกสันหลัง) เด็กในครรภ์ผิดปกติให้น้อยลง
...
(2). มีการ อักเสบในทางเดินปัสสาวะ > ป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำให้พอ, ไม่นั่งหรือนอนนานในช่วงที่ไม่ได้นอนหลับ,
ลุกขึ้นยืนหรือเดินอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง, ไม่กลั้นปัสสาวะ
(3). การอักเสบ ในช่องปากและฟันที่ไม่ได้รับการรักษา > ป้องกันได้ด้วยการฝึกแปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้แปรงฟันขนอ่อนหรืออ่อนมาก
แปรงเบาๆ ให้ทั่วถึง ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ใช้ไหมขัดฟัน และตรวจฟันกับอาจารย์หมอฟัน ทุก 6-12 เดือน (ถ้าทำได้)
...
(4). มีประวัติดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
(5). ตั้งครรภ์แฝด มีปัญหารกเกาะต่ำ หรือมีความผิดปกติของมดลูก เช่น มีเนื้องอกที่มดลูกหรือปากมดลูกผิดปกติ ฯลฯ
...
(6). มีโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ > ป้องกันได้ด้วยการออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
ควบคุมอาหาร ระวังอย่าให้อ้วนตั้งแ่ต่เด็ก
เมื่อรู้ว่า ตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปฝากครรภ์
...
อาจารย์แพทย์ สถาบันเมโยคลินิก US กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด (preterm labor) ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่
(คนที่อยู่ๆ ก็คลอดก่อนกำหนดโดยไม่มีสาเหตุเหล่านี้ก็มี แต่มีเป็นส่วนน้อย) [ Mayoclinic ]
(1). ประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อน เพิ่มโอกาสเป็นซ้ำ
(2). ท้องแฝดสอง (twins; twi- = ทวิ = 2), แฝดสาม (triplets; tri- = ไตร = 3), หรือแฝดอื่นๆ (multiples)
(3). มีความผิดปกติของมดลูก ปากมดลูก หรือรก เช่น มีเนื้องอกมดลูกบางชนิด-บางตำแหน่ง ฯลฯ
(4). สูบบุหรี่ - ยาเส้น
(5). ดื่มแอลกอฮอล์
(6). ติดยาเสพติด
(7). ติดเชื้อระบบสืบพันธุ์ส่วนล่าง หรือติดเชื้อเข้าไปในน้ำคร่ำ
(8). โรคเรื้อรัง เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน ฯลฯ
(9). น้ำหนักสุดโต่ง คือ ผอมมากๆ หรืออ้วนมากๆ
(10). น้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยมาก หรือเพิ่มขึ้นเร็วมากกว่าเกณฑ์ปกติ
(11). เหตุการณ์เครียดอย่างแรง เช่น คนที่รักเสียชีวิต ทำร้ายร่างกายกันในบ้าน ฯลฯ
(12). แท้งมาก่อนหลายครั้ง (miscarriages)
...
วิธีป้องกันได้แก่ [ Mayoclinic ]
(1). ฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ ก่อน 12 สัปดาห์ ไปตรวจตามนัด และทำตามคำแนะนำของหมอใกล้บ้าน
(2). กินอาหาร สุขภาพให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะกรดโฟลิคหรือโฟเลต (วิตามิน B ชนิดหนึ่ง) ซึ่งมีในผักผลไม้สดทั้งผล
หรือวิตามินรวม, ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, โปรตีน
(3). ป้องกัน-ตรวจเช็ค-ดูแลรักษาโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวาน ความดันเลือดสูงให้ดี
(4). ปรึกษาหมอใกล้บ้านว่า ช่วงต่างๆ ของการตั้งครรภ์จะทำงาน ออกแรง-ออกกำลัง หรือร่วมเพศได้แค่ไหนอย่างไร
(5). ไม่สูบบุหรี่ - ไม่ดื่มแอลกอฮอล์- ไม่เสพยาเสพติด
(6). บริหารความเครียดให้ได้
(7). ใส่ใจสุขภาพช่องปาก (เหงือก-ฟัน)
(8). ป้องกันการ ติดเชื้อ โดยเฉพาะล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ-เข้าบ้าน (กรณีออกนอกบ้าน)
-เข้าที่ทำงาน, หลังใช้ของร่วมกับคนอื่น-หลังเข้าห้องน้ำ-สัมผัสสัตว์เลี้ยง (ไม่ควรคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงในระหว่างตั้งครรภ์)
(9). ไม่นั่งหรือยืนนิ่งๆ นาน, ไม่กลั้นปัสสาวะ และดื่มน้ำให้มากพอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
...
อาการที่บ่ง ชี้ว่า เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้แก่ มดลูกหดตัวเกิน 8 ครั้ง/ชั่วโมง,
ปวดหลังส่วนล่างแบบปวดตื้อๆ ปวดเรื่อยๆ ไม่ใช่ปวดเป็นพักๆ, รู้สึกมีแรงกดที่เชิงกราน-หัวเหน่า, ท้องเสีย,
ตกเลือดหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด, มีน้ำเดิน (น้ำไหลออกทางช่องคลอด)
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version