15 ต.ค. , 2024, 10:03:08 pm

Author Topic: งานวิจัย : ผลกระทบต่อสุขภาพจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่  (Read 76254 times)

fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
ที่มา : Bangkokbiznews.com

เปิดงานวิจัยอันตรายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระบุตัวการใหญ่ "เสามือถือ"

ข้อมูลประกอบการจัดทำข้อวินิจฉัยกรณี / “ความเป็นไปได้ในผลกระทบต่อสุขภาพจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่”

โดย สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)

1. ในสังคมปัจจุบัน คลื่นวิทยุ (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงได้ยากไม่ว่าประเทศใดในโลก

ขณะเดียวกัน  ผลการศึกษาวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์ในโลกนับจากช่วงทศวรรษ 1980 ในด้านความเสี่ยงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อสุขภาพของมนุษย์ ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน โดยพบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (ตั้งแต่ 0 Hz  ถึง  300 GHz)  สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ได้ หากรับคลื่น (exposure) แรงเกินควร
และ/หรือเป็นเวลานานเกินไป

จึงเป็นที่มาขององค์กรที่เรียกว่า  The International  Commission  on  Non-Ionizing Radiation  Protection (หรือ ICNIRP)  เพื่อสอดส่องดูแลประเด็นดังกล่าว  โดยภารกิจสำคัญส่วนหนึ่ง  คือ  การกำหนดเกณฑ์ปลอดภัย  หรือ  ขีดจำกัด  (ค่าสูงสุด) การแผ่คลื่นในย่านความถี่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ตามประกาศ  กทช.  เรื่อง ”หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์”  ตั้งแต่ 4 พฤษภาคม 2550

2.  ทั้งนี้ ขีดจำกัดคลื่นความถี่ต่ำๆ (ELF) ที่รับว่าไม่เป็นภัยต่อมนุษย์ ได้แก่ ความแรงสนามแม่เหล็กไม่เกินประมาณ 2 mG (หรือ 0.2 µT) ซึ่งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไปเป็นแหล่งแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับต่างๆ (ณ บริเวณตัวเครื่อง) คือ:

-  โทรศัพท์ไร้สาย (Cordless Phone)    ประมาณ  28  mG
-  โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone)        ประมาณ  43  mG
-  เครื่องรับโทรทัศน์/เครื่องคอมพิวเตอร์ ประมาณ  56  mG
-  เตาไมโครเวฟ  ประมาณ  2,000  mG  ฯลฯ

(รวบรวมจาก National Council on Radiation Protection, California Department of Health เป็นต้น)

ฉะนั้นประชาชนและผู้บริโภคจึงควรรับทราบ  
และไม่ควรอยู่ใกล้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านจนเกินไปโดยไม่จำเป็น

3.  ผลกระทบจากการดูดซึมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  เห็นได้ว่าไม่จำกัดแค่คลื่นความถี่สูง (RF)  อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษเท่านั้น  แต่ยังรวมถึงคลื่นความถี่ต่ำๆ  ELF  (อย่างกระแสไฟฟ้า  50  Hz)  ซึ่งมีการศึกษาวิจัยเชิงระบาดวิทยา  (Epidemiological)  ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980  เป็นต้นมา

โดยมีทั้งฝ่ายที่พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  แม้ในระดับต่ำๆ มีผลกระทบจริง  
และฝ่ายที่สรุปว่าผลการศึกษายังไม่ชัดเจนพอหรือไม่มีเลย

4.  อย่างไรก็ดี  นักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นตรงกันว่า  หากเด็กได้รับคลื่นแม่เหล็กเกินกว่า  0.4 µT  (4 mG)  เป็นเวลานานๆ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ถึง 2 เท่าตัว

The International  Agency for Research on Cancers (IARC) ได้เห็นพ้องในข้อสรุปว่า

“คลื่นแม่เหล็กในย่านความถี่ต่ำ (อาทิ  ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้าน)  อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง (carcinogenic agent) ชนิดหนึ่ง”

รวมทั้งในเอกสาร Electrosmog in the environment (SAEFL  2005) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนโดย Swiss Agency for the Environment, Forest and  Landscape รัฐบาลประเทศสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศชัดเจนว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อมชนิดหนึ่ง

ความเห็นข้างต้นอยู่ในทิศทางเดียวกันกับข้อสรุปงานวิจัยโดย  Childhood Cancer Research Group, University of Oxford ในปี 2005 ความว่า

“เด็กกลุ่มที่เกิดจากมารดาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูงภายในระยะห่างไม่เกิน 200 เมตร มีอัตราความเสี่ยงเป็น leukemia สูงขึ้นร้อยละ 70 เทียบกับกลุ่มที่มารดาอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่า 600 เมตรขึ้นไป” (Draper G et al, 2005)

5.  Professor Dr. Robert O. Becker  แห่ง  State  University  of  New York,  Upstate  Medical  Center  และ  Louisiana  State  University  Medical  Center  ผู้ซึ่งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล  Nobel  Prize  สาขาแพทย์ศาสตร์  ถึง  2  ครั้ง เนื่องจากผลงานวิจัยด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับการแพทย์  ได้สรุปถึงกระทบต่อสุขภาพของคลื่นความถี่ต่ำมาก  (ELF) ไว้ว่า ถึงแม้คลื่นจะมีความเข้มในระดับต่ำมากๆ แต่หากได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ก็สามารถกระทบต่อระบบควบคุม  (DC Control System)  ในสมองมนุษย์  (Becker, RO, 1990;2004) ทำให้เกิดอาการต่างๆได้ เช่น ปวดหัว หน้ามืด คลื่นเหียน สับสน อ่อนเพลีย  ความจำเสื่อม ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ชักกระตุก ฯลฯ

6.  ภายหลังจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยคลื่นวิทยุ RF ในย่านความถี่ไมโครเวฟตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 จนเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมากในเวลาถัดมา ทำให้เกิดประเด็นผลกระทบจากคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อสุขภาพมนุษย์ จนกลายเป็นที่มาของงานศึกษาวิจัยมากมายตามมา
การร้องเรียนปัญหาด้านสุขภาพจากผู้บริโภค
และการศึกษาวิจัยส่วนมากจะพุ่งเป้าที่ประเด็นการใช้โทรศัพท์ฯในช่วงแรกๆ

แต่ในเวลาต่อมา การร้องเรียนเกือบทั้งสิ้นจะมาจากผู้พักอาศัยอยู่ใกล้กับเสาแผ่สัญญาณ(หรือเสาอากาศ) บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่  (Mobile Phone Antenna, หรือ Mast, หรือ Base Station) ซึ่งผู้อยู่อาศัยใกล้เสาฯไม่อยู่ในวิสัยที่จะควบคุม หรือป้องกันตัวเองได้ จึงแตกต่างกับประเด็นการใช้ที่แต่ละผู้ใช้สามารถจะเลือกใช้อย่างไร และเพียงใดได้

7.  ดังนั้น มาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีบุหรี่  กล่าวคือ  มาตรการสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ฯ (ผู้สูบบุหรี่) กลุ่มหนึ่ง  และสำหรับผู้อยู่ใกล้เสาอากาศ  (ผู้สูบบุหรี่มือสอง)  อีกกลุ่มหนึ่ง

8.  ผลกระทบต่อสุขภาพจากคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่  นอกเหนือจากอาการที่มาจากคลื่นความถี่ต่ำ (ELF) ต่างๆดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว  ยังรวมไปถึงอาการที่สำคัญๆ ดังเช่น
- Brain tumors (เนื้องอกในสมอง) - Acoustic  neuroma  (มะเร็งประสาทใกล้บริเวณหู) - Parkinson - Alzheimer - Cancers (มะเร็งต่างๆ)    ฯลฯ


fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
ตัวอย่างเช่น จากเอกสารที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) งานศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า

1)  ประชากร 530 คน ที่อยู่ใกล้เสาสัญญาณโทรศัพท์ฯ ในรัศมี 400 เมตร มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น headaches, sleep disruption, irritability, depression, memory loss, nausea, visual disruption (Santini et al, 2002)

2) ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดภายใต้และตรงกันข้ามกับบริเวณเสาส่งสัญญาณ ที่ตั้งบนหลังคาอาคารชุดมีอาการ Headaches, memory changes, dizziness, tremors, depression, blurred vision, sleep disturbance, irritability, lack of concentration ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Santini ข้างต้น (Abel-Rassoul G et al, 2007)

9. นอกจากนี้แล้ว ยังมีงานวิจัยในทำนองเดียวกันอีกจำนวนมากที่สำคัญๆ อาทิ

1)   Eger และพวก (2004) พบว่ากลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้กับเสาสัญญาณฯ ภายในระยะ 400 เมตร เป็นเวลา 5 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้น 3 เท่าตัว หรือของ Wolf และ Wolf (2004) ก็เช่นกันได้พบความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว ในกลุ่มผู้อาศัยใกล้เสาสัญญาณฯ ระหว่าง 3 ถึง 7 ปี (Anslow, M 2008)

2) Ecolog Report (2000) ซึ่งบริษัท T-Mobile แห่ง Germany เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนในการรวบรวมวิเคราะห์ผลงานวิจัยในด้านนี้กว่า 220 ชิ้น พบหลักฐาน (evidence) ผลกระทบต่างๆ เช่น ต่อระบบประสาทส่วนกลาง การริเริ่ม (Initiating) และการส่งเสริม (Promoting) การโตของเซลล์มะเร็ง ต่อการทำหน้าที่ของสมองและที่เกี่ยวกับระบบความจำ ฯลฯ พร้อมกับเรียกร้องให้ ICNIRP ทบทวนเพื่อลดระดับเกณฑ์ความปลอดภัยในการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ต่ำลง 1,000 เท่า (หรือในระดับ 0.1% ของเกณฑ์ที่แนะนำ)

10. เป็นที่สังเกตในวงการนักวิทยาศาสตร์ว่า อาการสุขภาวะต่างๆ ข้างต้นเกิดขึ้นทั้งๆที่อุปกรณ์เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือระดับการแผ่คลื่นจากเสาส่งสัญญาณฯ ล้วนต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ICNIRP ประกาศแนะนำ โดยเป็นเกณฑ์ซึ่งกำหนดบนพื้นฐานที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อมนุษย์มีอุณหภูมีสูงขึ้นจากการดูดซึมพลังงานคลื่นฯ (กล่าวคือเป็นผลกระทบในเชิงความร้อน-Thermal effects ในทำนองเดียวกันกับที่เตาไมโครเวฟสามารถอุ่นอาหาร)

นักวิทยาศาสตร์จึงได้พุ่งประเด็นการวิจัยเสียใหม่ยังผลกระทบที่ไม่ใช่เชิงความร้อน (Non-thermal effects) หากแต่เป็นผลกระทบเชิงชีววิทยาว่ามีอะไรและอย่างไรบ้างจากการรับคลื่นความถี่สูงในระดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ ICNIRP มาก

โดยมีชิ้นงานสำคัญๆ เช่น

1)  The REFLEX report (2004) ซึ่งเป็นโครงการ 4 ปี มูลค่า 3.2 ล้านยูโรโดยกลุ่มผู้วิจัย 12 กลุ่มใน 7 ประเทศสหภาพยุโรป (EU) ทำการศึกษาประเด็นผลกระทบจากคลื่นฯ แรงต่ำๆในระดับ 0.2-1.3 W/kg ต่อตัวอย่างเซลล์มนุษย์ในหลอดแก้วทดลอง (in-vitro) เทียบกับเกณฑ์ 2 W/kg ของ ICNIRP/WHO ได้พบความเสียหายของโครโมโซม (Chromosome damage หรือ DNA breaks คล้ายกับความเสียหายจากการฉายแสง X-ray ปอด 1,600 ครั้ง) อันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและโรคอื่นๆตามมา

หมายเหตุ : REFLEX ย่อมาจาก “Risk Evaluation of Potential Environmental Hazards from Low Energy Electromagnetic Field (EMF) Exposure using Sensitive in-vitro Methods” ซึ่ง ใน“รายงานสรุปผลการดำเนินการ”

โดยคณะกรรมการร่างมาตราฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต่อสุขภาพผู้ใช้ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ พฤษภาคม 2548 โดย กทช.ได้อ้างอิงถึง อีกทั้งข้อสรุปจาก REFLEX ยังสอดคล้องกับการศึกษาโดยใช้หนูทดลองก่อนหน้านั้น อาทิ โดย Lai and Singh (2004), Svedenstal et al (1999) เป็นต้น

2)  Andrew Goldsworthy (Goldsworthy A, 2007) ซึ่งเป็น Honorary Lecturer แห่ง Imperial College London ในประเทศอังกฤษ ได้สนับสนุนข้อสรุปเกี่ยวกับ “Non-thermal Effects จากการดูดซึมคลื่นฯ ความแรงต่ำว่าสามารถสร้างความเสียหายต่อ DNA มนุษย์ได้ พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุที่มา (Mechanism) ว่าเกิดจากการไหลออกของ Calcium ions จากเซลล์ (Calcium ion Efflux) ภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจนเกิดการรั่วซึมของ digestive enzymes เข้าสู่เซลล์ดังกล่าว แล้วจึงย่อย (digest) เซลล์นั้นๆขึ้นจนเกิดความบกพร่องตามมา ฯลฯ

ข. ความตื่นตัวของผู้บริโภคในต่างประเทศ

11. ปัจจุบันงานวิจัยและข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่อาจสรุปได้โดยปราศจากข้อโต้แย้งในความสัมพันธ์ระหว่างการก่อเกิดมะเร็งกับการดูดซึมคลื่นความถี่สูงอย่างเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ (WiFi หรือ WiMAX เป็นต้น) แม้ในระดับการแผ่คลื่นกำลังต่ำๆ แต่เป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้เหตุผลหนึ่งอาจเนื่องจากการเกิดมะเร็งเนื้อร้าย จะโดยเหตุปัจจัยใดก็ตาม โดยมากต้องใช้เวลานับ 10-15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น

ดังเห็นได้จากประสบการณ์รังสีปรมณูที่นครนากาซากิ หรือฮิโรชิมา หรือจากการสูบบุหรี่ หรือ การดูดซึมสาร asbestos เหล่านี้เป็นต้น

12. อย่างไรก็ดีผลงานวิจัยที่แสดงถึงผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยใกล้กับเสาโทรศัพท์ฯ (โดยเฉพาะภายในระยะ 300-400 เมตร) ที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง ก็มีการพบเห็นเป็นจำนวนมาก

อีกทั้งในหลายๆ กรณีที่หลังจากมีการย้ายเสาฯ หรือย้ายที่พัก/ทำงานแล้ว ผู้ถูกกระทบมีสุขภาวะดีขึ้น จึงน่าเชื่อได้ว่าผลกระทบต่อสุขภาวะนั้นๆเป็นจริง ดังเห็นได้จากตัวอย่างเช่น

กรณีหมู่บ้านชุมชนเล็กๆ Wishaw ในประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย 18 ครัวเรือนที่อยู่ใกล้เสาโทรศัพท์ฯ ในระยะ 500 เมตร โดยหลังจากการเปิดบริการได้ราว 7 ปี (ค.ศ 2001) ปรากฎว่าสุขภาวะของผู้ที่อยู่อาศัย รวมถึงปศุสัตว์ (เช่น ม้า) แย่ลงมากโดยมีทั้งอาการ headaches, dizziness, Sleep problems, low immune system จนถึงการเจ็บป่วยเป็นมะเร็ง ได้แก่ breast cancer (รวม 5 ราย) prostate, bladder และ lung cancer (อย่างละ 1 ราย), pre- cancer cervical cells (3 ราย), motor neuron disease รวมทั้ง spine tumour ที่ต้องรับการผ่าตัด (1 ราย)

แต่ภายหลังจากที่บริษัท T-Mobile ได้ถอนเสาออกไปในช่วงปลายปี 2003 สุขภาวะในชุมชนเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ปัญหาการหลับนอน ปวดศรีษะ และวิงเวียนศรีษะต่างได้ลดหายไป <http://www.bbc.co.uk/insideout/westmidlands/series6/phone_masts.shtml>


fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
13. กรณีที่สุขภาวะของชุมชนดีขึ้นภายหลังการย้ายเสาให้ห่างจากพื้นที่ดังตัวอย่างข้างต้น มีจำนวนไม่น้อย แต่ในทางกลับกัน เมื่อชุมชนมีสุขภาวะลดลงอย่างผิดปกติวิสัยอย่างชัดเจนโดยเห็นว่าน่าจะเป็นเพราะเสาโทรศัพท์ฯที่ตั้งภายในชุมชน แล้วกลับไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็อาจนำไปสู่การทำลายเสาโทรศัพท์ฯได้ ดังเช่น

1) ในประเทศอิสราเอล เกิดการจลาจรและการเผาเสาโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯทั้งหมดในหมู่บ้าน Druses แคว้น Usfiyeh เมื่อ14 มีนาคม 2000 เนื่องจากมีผู้เป็นมะเร็งรวมกันถึงกว่า 200 คน  อีกทั้งที่ Neve Horesh ในเมือง Dimona ก็มีการทำลายเสาโทรศัพท์เมื่อ 27 กันยายน 2006 เช่นกัน <www.radiationresearch.org>

2) ประเทศไต้หวัน ในช่วงปี 2005 มีการทำลายเสาโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึงเกือบ 900 เสา <http://www.digitimes.com/telecom/a20060316A9052.html>
ดังนั้นการไม่ทำอะไร (Do nothing strategy) ในกรณีนี้ จึงมิใช่มาตรการที่ดีในการบริหารจัดการกับปัญหาแม้จะยังขาดข้อยุติในมูลเหตุของปัญหาก็ตาม

ค.  ปฏิกิริยาของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

14. ข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (โดยเฉพาะสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เสาสัญญาณและเครื่องโทรศัพท์ไร้สาย) ดูเหมือนจะไม่แตกต่างกับปัญหากรณีบุหรี่ (Tobacco), DDT หรือ Asbestos ฯลฯ ในอดีต หรือ ปัญหาพืชตัดต่อพันธุกรรม (GMO) และภาวะโลกร้อนในขณะนี้ ซึ่งการรอจนสามารถพิสูจน์ผลทางวิทยาศาสตร์อย่างปราศจากข้อสงสัย จึงอาจจะนำไปสู่ความสูญเสียอันมหาศาลทั้งในทางตรงและทางอ้อมดังกรณีต่างๆข้างต้น

ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์แนวหน้าในโลกที่ตระหนักและรู้เห็นถึงความเป็นไปได้สูงในอันตรายของคลื่นฯ กำลังต่ำ จึงต่างออกมาให้คำเตือนต่อสาธารณะ อาทิ เมื่อวันที่ 19 กันยายน  2549 ได้มีนักวิทยาศาสตร์จำนวน 42 คน ร่วมลงนามในแถลงการ “Benevento Resolution” (www.icems.eu)  อีกจำนวนไม่น้อยที่ออกมาเปิดเผยผลงานวิจัย ทั้งในเชิง Epidemiology และการทดลองด้วยสัตว์ หรือ เซลล์มนุษย์ (in-vitro) จำนวนมาก ซึ่งต่างทำให้เชื่อได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตั้งแต่  0 Hz ถึง 300 GHz  แม้มีความแรงต่ำก็สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ได้ทั้งสิ้น

แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมักจะให้การปฏิเสธ หรือยืนยันว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่น่าจะส่งผลกระทบหากมีระดับไม่เกินกว่าเกณฑ์สากลที่กำหนด

หรือไม่ก็มักจะอ้างว่า การให้บริการมีความปลอดภัยดี จนกว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถชี้ถึงสาเหตุที่มา (Mechanism) ว่าอันตรายจากคลื่นกำลังต่ำมีผลทางชีววิทยาอย่างไร ทำให้เกิดมะเร็งจริงหรือไม่

อีกไม่น้อยเช่นกันที่มีการเผยแพร่หรือสนับสนุนงานวิจัยโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปว่าคลื่นจากเสาสัญญาณหรือจากเครื่องโทรศัพท์ไร้สาย ยังไม่พบผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ในระยะสั้น (Short-term) แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันในผลกระทบระยะยาว (Long-term) ได้

15. ในประเด็นข้างต้น ข้อสังเกตหนึ่งที่พึงจะคำนึงถึงก็คือ ประเด็นความลำเอียง (bias) ของนักวิจัย โดยอาจพิจารณาว่าผลงานกลุ่มใดน่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่และมากน้อยกว่ากันเพียงใด

ดังประสบการณ์ในอดีตอย่างกรณีบุหรี่ หรือประเด็นภาวะโลกร้อนจากการใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติในขณะนี้ ซึ่ง James Hansen, ผู้อำนวยการ Goddard Institute for Space Studies ภายใต้ NASA ในสหรัฐฯ (หนึ่งใน 100 บุคคลที่ Times ยกย่องเป็นบุคคลทรงอิทธิพลของโลกปี 2006) ได้กล่าวต่อสาธารณะไว้อย่างน่ารับฟังว่า
“อุตสาหกรรมฯกำลังปกปิดสาเหตุสภาวะโลกร้อนที่แท้จริงจากสาธารณะและผู้กำหนดนโยบาย แบบเดียวกับที่ผู้ผลิตบุหรี่ ซึ่งรู้แก่ใจว่าบุหรี่เป็นสาเหตุระเร็งปอด แต่ผู้ผลิตได้จ้างนักวิทยาศาสตร์ออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง”

(“The industry is misleading the public and policy makers about the cause of climate change. And that is analogous to what the cigarette manufacturers did. They know smoking caused cancers, but they hired scientists who said that was not the case” (Bangkok Post, April 8, 2008))

ขณะเดียวกันจากผลการสำรวจนักวิทยาศาสตร์จำนวน 5,500 คนของ Environment Protection Agency (EPA) ในกรุงวอชิงตัน  ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ตอบแบบสอบถาม 1,586 ราย พบว่าร้อยละ 60 ได้ตอบว่า “มีประสบการณ์ การแทรกแซงงานวิจัยจากฝ่ายการเมือง (political interference)” (Bangkok Post, April 25, 2008)

ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่กฎระเบียบ (regulations) เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่ประกาศใช้อาจไม่สมเหตุสมผลก็ได้ ซึ่ง EPA เองก็เคยปกป้องเกณฑ์ของ FCC (หรือ ICNIRP) ว่าด้วยการแผ่คลื่นฯมาแล้วถึง 2 ครั้งว่ามีความเหมาะสมอยู่

ในทางกลับกัน ตัวอย่างองค์กรอีกกลุ่มซึ่งทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของผู้อาจถูกผลกระทบนั้น จะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

ง.  ประสบการณ์การดำเนินการเพื่อบรรเทาปัญหาในบางประเทศ

16. นโยบายและมาตรการป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำเป็นต้องจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือกลุ่มผู้ใช้บริการ และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเสาโทรศัพท์ฯ ดังต่อไปนี้

การใช้โทรศัพท์ไร้สาย ถือเป็นสิทธิส่วนบุคลที่ผู้ใช้ย่อมสามารถตัดสินใจจะเลือกใช้อย่างไร มากหรือน้อยเท่าใด ฉะนั้นมาตรการสำหรับกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการให้คำปรึกษาแนะนำที่เหมาะสมทันการณ์ อย่างเช่น

1.  หากไม่มีทางเลือกอื่น ควรจะใช้ด้วยเวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ไม่ใช่ไม่ควรจะใช้)

2. หากเป็นไปได้ควร เลือกใช้โทรศัพท์ใช้สาย (โทรศัพท์บ้าน) แทน แต่ต้องไม่ใช่แบบไร้สาย (cordless phone ซึ่งก็มีผลกระทบเช่นเดียวกันกับโทรศัพท์มือถือ)

3. ควรใช้อุปกรณ์ Hands-Free แบบ Speaker phone (ลำโพง) จะดีกว่า

ทั้งนี้ ในปี 2007 รัฐบาลเยอรมนีได้ออกประกาศแนะนำประชาชนของตน ให้หันไปใช้โทรศัพท์ใช้สายแทนการใช้โทรศัพท์มือถือ  รวมทั้งแนะนำให้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ แทนที่จะใช้  WiFi  อีกด้วย  (The New Zealand Herald, September16, 2007)

อีกทั้งมีรายงานจากสวีเดนเกี่ยวกับการใช้  Cordless  Phone  ภายในบ้านว่า “มีผลกระทบมากกว่าการใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือมาก”  (News of the World “Cordless handsets 100 times worse than mobiles, say  experts”, February 5, 2006)  และยังได้มีการทดสอบอุปกรณ์ Hands-Free แบบ Ear phone (หูฟัง) โดย CA  (Computer  Associates) พบว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีอัตราความเสี่ยงสูงกว่าตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือถึง  3  เท่าตัว  เนื่องจากอุปกรณ์และสายที่ต่อไปยังเครื่องโทรศัพท์ฯ  จะทำหน้าที่เป็นเสาอากาศซึ่งจะรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกย่านความถี่ (Yahoo News, April  2000)  อุปกรณ์อย่าง blue-tooth จึงไม่ใช่ทางออกเช่นกัน

ดังนั้นการไม่ใช้เครื่องโทรศัพท์แบบไร้สายเป็นเวลานานๆ หรือการหันมาใช้เครื่องแบบมีสายแทน จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงใดๆ หากมีการยืนยันว่าผลกระทบฯมีจริงในที่สุด

17. ในอีกแง่หนึ่ง หากการตั้งเสาโทรศัพท์ฯ (รวมถึงเสาสถานีวิทยุ-โทรทัศน์ อุปกรณ์ WiFi หรือ Wi MAX ต่อไปในอนาคต) ได้สร้างผลกระทบขึ้นจริง จะถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เนื่องจากผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงจะรับผลกระทบตลอดระยะเวลาโดยไม่มีทางเลือก (imposed risks) ใดๆ แม้ว่าตนเองจะไม่เป็นผู้ใช้บริการก็ตาม หรือมีลักษณะเดียวกันกับกรณีผู้สูบบุหรี่ประเภทสอง (second  hand  smokers) ซึ่งสมควรและปัจจุบันก็ได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ

สิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางภาครัฐควรและต้องทำ ก็คือการตั้งมาตรฐานระดับความเข้มของคลื่นฯ  ที่ไม่เป็นภัยกับประชาชนในระยะยาว ควบคู่กับการสื่อสารให้ข้อมูลความรู้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและทันการณ์แก่ประชาชน เช่น ทางเลือกและการใช้เทคโนโลยีแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว
 มาตรฐานที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกใช้ โดยทั่วไปมักอิงกับข้อแนะนำของ ICNIRP (1998) หรือ International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection อันเป็นเกณฑ์ที่ WHO รับรอง อีกทั้ง เป็นเกณฑ์ตามประกาศ กทช. เรื่อง “หลักเกณฑ์และมาตรฐานการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม 2550” และ “มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพฯ กทช.ม.ท.5001-2550” ซึ่งกำหนดความเข้มไม่ให้เกิน 4,500 mW/m2 (หรือ 41 V/m) สำหรับคลื่น 900 MHz และ 9,000 mW/m2 (หรือ 58 V/m) สำหรับคลื่น 1800 MHz

 18. อย่างไรก็ดี เนื่องจากปรากฏว่ามีงานศึกษาวิจัยจำนวนไม่น้อย ซึ่งชี้ถึงผลกระทบทางชีววิทยา (biological หรือ non-thermal effects) แม้ในระดับความเข้มซึ่งต่ำกว่าข้อแนะนำของ ICNIRP/WHO ดังนั้นจึงมีรัฐบาลในระดับประเทศหรือท้องถิ่น ทำการปรับลดเกณฑ์ที่บังคับใช้เสียใหม่ อาทิ ประเทศอิตาลี (ปี 1999) ได้ตรากฎหมายจำกัดความแรงทั้งคลื่น 900 และ 1800 MHz  ที่ระดับ 6 V/m  ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (ปี 2000) ได้จำกัดความแรงคลื่น 900 และ1800 MHz ที่ระดับ 4 และ 6 V/m ตามลำดับ หรือเท่ากับการลดกำลังคลื่น (density) ลงระหว่าง 50-90 เท่าตัวเทียบกับกำลังสูงสุดตามคำแนะนำของ ICNIRP (International Conference on Cell Tower Siting, Salzburg,June 7-8,2000) 

นอกจากนี้แล้วรัฐบาลท้องถิ่น เช่น Wallonia, Moscow หรือ Salzburg ก็ได้กำหนดมาตรฐานของตนเองซึ่งต่ำกว่าที่รัฐบาลกลางใช้อยู่ โดยยึดตามหลักการ “Precautionary Principle" ที่สหประชาชาติ (UN) เห็นชอบในการประชุมด้าน Environment and Development ณ กรุง Rio de Janeiro ประเทศบราซิลในปี 1992  ซึ่งสาระของหลักการที่สำคัญ คือ

"ในกรณีที่มีเหตุผลอันเชื่อได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ หรือต่อสิ่งแวดล้อมใดๆแล้ว จักต้องมีมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม ถึงแม้ว่าจะยังขาดข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนก็ตาม”

ทั้งนี้คำนิยามว่าด้วยสุขภาพมนุษย์ของ WHO มิใช่ครอบคลุมเพียงสุขภาพกายที่ควรปลอดจากการเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น หากยังรวมถึงสุขภาพจิต และสภาวะทางสังคมที่ดีอีกด้วย (“A state of complete physical,  mental, and social well-being, and not merely the absence of disease or infirmity”)

 19. ประเทศและเมืองที่ยึดถือหลักการ Precautionary principle จึงต่างกำหนดขีดจำกัดให้ต่ำกว่าของ ICNIRP /WHO อย่างเช่น สำหรับคลื่น 1800 MHz ได้แก่ (ตามลำดับจากมากไปน้อย) Belgium (1,115 mW/m2), Poland, Italy, Russia, และ Switzerland (100 mW/m2), Wallonia ใน Belgium (24 mW/m2), Moscow ใน Russia (20 mW/m2) และ Salzburg ใน Austria  (ภายนอกตัวบ้าน 0.01 mW/m2 และภายในบ้าน 0.001 mW/m2 ในปี 2000 ซึ่งลดลงจาก 1 mW/m2 ที่ใช้ในปี 1998)

อีกทั้งรัฐสภากลุ่มสหภาพยุโรป (EU  Parliament)  ก็ได้มีมติในปี 2001 ให้ใช้เกณฑ์แนะนำ (quidance) ที่ระดับ 0.1 mW/m2  เป็นต้น

 20. นอกเหนือจากมาตรการทางกฎหมายหรือกฎระเบียบแล้ว การให้ข้อมูล ความรู้ คำแนะนำ รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และชุมชนที่อาจรับผลกระทบจากการตั้งเสา ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญตามหลักการแห่ง Precautionary Principle ทั้งสิ้น

อย่างเช่น กรณีของ SAEFL (2005) ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอยู่รอบตัวมนุษย์ (electrosmog) ตั้งแต่ สายไฟแรงสูงและแรงต่ำ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน บริเวณตามแนวรางรถไฟ หรือใกล้เสาสัญญาณโทรศัพท์ หรือเสาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ จนถึงตัวอุปกรณ์สื่อสารไร้สายทุกชนิด (รวมถึงอุปกรณ์ WiFi และ WiMax หรืออื่น ๆ ในอนาคต)

ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลเยอรมันยังได้แถลงเมื่อ September 2007  แนะนำผู้บริโภคให้ใช้โทรศัพท์มีสายและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้สาย (ADSL) แทนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ WiFi (เนื่องจากอุปกรณ์ WiFi ทำหน้าที่เป็นสถานี หรือเสารับ-ส่งสัญญาณด้วยคลื่นความถี่สูง)

อีกทั้งในสารคดี Panorama ซึ่งแพร่ภาพทาง BBC TV ในเดือน May 2007 ได้พิสูจน์ความแรงคลื่นจาก WiFi ที่วัดได้เทียบเท่ากับความแรงคลื่นห่างจากเสาสัญญาณโทรศัพท์ที่ในระยะ 150 เมตร

ในสารคดีดังกล่าวยังได้มีการสัมภาษณ์ผู้ป่วยในสวีเดน ที่มีอาการ electrosensitivity (บางครั้งเรียกว่า electro hypersensitive syndrome, EHS) หรือภูมิแพ้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดหัว หรือหัวใจเต้นแรง หรืออ่อนเพลีย ฯลฯ ในทันทีที่เข้าใกล้เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ หรือวิทยุ หรือโทรทัศน์

ซึ่งรัฐบาลสวีเดนได้ยอมรับและจัดให้เป็นโรคอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะได้รับสิทธิคุ้มครองทั้งในค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลจนถึงค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงที่พักอาศัย (กรณีใกล้เสาส่งคลื่นความถี่สูง) เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว

สุดท้ายกระบวนการมีส่วนร่วมแบบไตรภาคี เป็นหนทางที่สามารถนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ เป็นประโยชน์และผลดีร่วมกันทุกๆฝ่ายได้ อย่างเช่นในกรณีของชุมชนใน Salzburg ซึ่งครั้งหนึ่งในช่วงปี 1998 ได้ลุกขึ้นประท้วงการตั้งเสาโทรศัพท์เคลื่อนที่ จนนำไปสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย  ระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น ผู้ประกอบการและชุมชน

จนในที่สุดต่างยอมรับในข้อเสนอของกรมสาธารณสุข (Department of Public Health) ให้ใช้เกณฑ์ 1 mW/m2 cumulative (ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ICNIRP เกือบ 10,000 เท่า) และต่อมาเมื่อผู้ประกอบการรายที่ 4 รายใหม่ (tele.ring)ได้รับใบอนุญาตประกอบการในเดือน May 1999  ก็ได้มีการเจรจาและได้ข้อยุติรับเงื่อนไขติดตั้งเสาโดยแผ่คลื่นฯในระดับไม่เกิน 0.25 mW/m2 หรือในสัดส่วน 1 ใน 4  ของเกณฑ์ cumulative สูงสุด เนื่องจากมีผู้ประกอบการให้บริการในบริเวณเดียวกัน 4 ราย  (Oberfeld G และ Konig C, 2000)

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

21. สืบเนื่องจากได้ปรากฏข้อมูลจำนวนไม่น้อยจนเกิดการยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายในหลายๆ ประเทศ ทำให้มีเหตุผลพอเชื่อได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งช่วง ELF จนถึงช่วงไมโครเวฟ ที่ใช้สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ WiFi หรือ WiMAX มีผลกระทบต่อสุขภาวะได้

อาทิ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้ถือว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกย่านความถี่เป็นมลภาวะประเภทหนึ่ง (ดูหน้า 7 ใน SAEFL: Electrosmog in the environment)

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายของไทยจึงสมควรจะทบทวนนโยบาย และมาตรการป้องกัน “สุขภาพ” ของประชาชนให้สอดคล้อง ตามนิยามของ WHO และ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 5, 10 และ 11 ดังข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดังนี้

1)  กำหนดเกณฑ์รวม (cumulative) สูงสุดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งย่าน ELF และ RF ใหม่ ที่สอดคล้องกับหลักการแห่ง  Precautionary Principle เป็นต้นว่าให้จำกัดคลื่น ELF  ไม่ให้เกิน 2 mG  และคลี่น RF  รวมกันไม่เกิน 0.6 V/m หรือ 1 mW/m2

2) สนับสนุนเทคโนโลยีและบริการทางเลือก ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมที่ใช้สาย (เช่นใยแก้วนำแสงหรือทองแดง)

3) ให้ความรู้ข้อมูลและทำการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับประเด็นลดละการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์ไร้สายเป็นเวลานาน ๆ เนื่องจากอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (Potential health risks)ได้

4) แนะนำผู้ปกครองให้ละเว้น หรือจำกัดการใช้ข้างต้นในกลุ่มผู้เยาว์วัยโดยหันไปใช้ระบบที่เป็นสายแทน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถรับผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้มากกว่าผู้ใหญ่มาก

5) ให้ละเว้นการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ ในบริเวณใกล้สถานพยาบาล โรงเรียน ชุมชน ที่พักอาศัย รวมถึงการตั้งเสาใหม่บนหลังคา อาคาร/ ตึกแถว เนื่องจาก ความแรงของคลื่นวัดที่จุดสูง ๆ มีระดับสูงกว่าจุดแนวพื้นราบในบริเวณเดียวกันถึงร้อยเท่าตัวได้

6) สำหรับการตั้งเสาใหม่เพื่อให้บริการในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น หากไม่สามารถจัดหาบริเวณที่ห่างออกไปอย่างน้อย 300 เมตรได้  ควรแก้ปัญหาด้วยวิธีการการทางเทคโนโลยี อาทิ ด้วยการติดตั้ง micro-cells หรือ nano-cells  ตามแนวเสาไฟฟ้าหรือด้วยวิธีการอื่นๆ แทน ดังที่ใช้กันในต่างประเทศ (WHO, 2005 หน้า 17 และ 29)

หมายเหตุ อุปกรณ์เครื่องโทรศัพท์มือถือสามารถใช้งานได้ถึงระดับความแรงคลื่น 0.00003 V/m หรือ กำลังคลื่น 2.0 x 10-9 mW/m2

7) ก่อนการติดตั้งเสาใหม่ควรสร้างความเข้าใจทั้งในผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบแก่ชุมชนในบริเวณนั้นๆ จนได้ข้อยุติเห็นชอบร่วมกันโดยยืนยันในมาตรการต่างๆที่รัฐและผู้ประกอบการต่างจะดำเนินการเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบเชิงลบทั้งปวง

8)  จัดหาหน่วยงานอิสระที่มีความน่าเชื่อถือ ออกตรวจและวัดระดับความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นระยะๆและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ

9) ติดตามข่าวสารข้อมูล และผลงานวิจัยด้านผลกระทบต่อสุขภาพในโลก โดยร่วมมือและ/หรือให้การสนับสนุนภาคเอกชน นักวิชาการ แล้วทำการเผยแพร่ให้ความรู้ความเข้าใจอย่างเท่าทันแก่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง

10) โน้มน้าวภาคอุตสาหกรรม (อุปกรณ์และบริการ) ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมระยะยาวที่ยั่งยืนสำหรับทุกๆฝ่าย ทั้งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ภาครัฐ และสังคม โดยไม่คำนึงเพียงในผลประโยชน์สั้นๆ เท่านั้น

คำศัพท์

ADSL : Asymmetrical digital subscriber loop

ELF : extremely low frequency  หมายถึง คลื่นความถี่ต่ำกว่า 3,000 Hz

EMR : electromagnetic radiation  หมายถึง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

EPA : Environment Protection Agency, USA
Electrosmog หมายถึงมลภาวะจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Electrosensitivity  หมายถึงภูมิแพ้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

FCC : Federal Communications Commission, USA

GHz : gigahertz = 1,000,000,000 Hz

Hz : hertz  หรือ cycle per second   หมายถึงหน่วย : จำนวนรอบต่อวินาที

IARC : The International Agency for Research on Cancers

ICEMS : The International Commission For Electromagnetic Safety, EU 

ICNIRP : The International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection

MHz : megahertz = 1,000,000 Hz

mG : milligauss หมายถึงหน่วยวัดความเข้มสนามแม่เหล็ก (magnetic field)

mW/m2 : milliwatt per square meter หมายถึงหน่วยวัดกำลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า: มิลลิวัตต์ต่อตารางเมตร

micro-cells  หมายถึงอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่บริการขนาดเล็ก

nano-cells  หมายถึงอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่บริการขนาดเล็กมาก

NASA : National Aeronautics and Space Administration องค์การการบินและอวกาศแห่งชาติ

RF : radio frequency หมายถึง คลื่นวิทยุ (แม่เหล็กไฟฟ้า) ระหว่าง 3,000 Hz ถึง 300,000 MHz

V/m : volt per meter หมายถึงหน่วยวัดความเข้มสนามไฟฟ้า (electric field)

WHO : World Health Organization องค์การอนามัยโลก

WiFi : Wireless Fidelity หมายถึงเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลด้วยคลื่นวิทยุชนิดหนึ่ง

WiMAX : World Interoperability for Microwave Access หมายถึงเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลด้วยคลื่นวิทยุอีกชนิดหนึ่ง
 


fengshui

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
จาก Forward Mail


Where do you keep your mobilephone normally?
ปกติเก็บมือถือของท่านไว้ที่ใหน

This morning I heard a true and sad story from a colleague of mine.
เมื่อเช้านี้ได้รับข่าวที่น่าสลดใจจากเพื่อนคนหนึ่ง

>> She told me one of her friends is always having abortions.
เธอเล่าว่าเพื่อนเธอคนหนึ่งแท้งลูกตลอดเวลา

When the fetus gets to be 2-3 months old she loses it.
เมื่อตั้งท้องได้ 2-3 เดือนเธอก็ต้องเสียเด็กไป 
 
This happened several times over.
เกิดขึ้นอย่างนี้สองสามหนแล้ว
 
The couple went to check with many doctors and at last one of the doctors 
examined the dead baby and found that the baby's body cells kept dying as 
the baby was growing in the womb until he/she could not survive.
สามี-ภรรยาจึงได้ไปหาหมอตรวจหาสาเหตุจากหมอหลายคน
และในที่สุดก็ได้ให้หมอคนหนึ่งทำการชันสูตรศพเด็กอ่อนและก็ได้พบว่า
เซลล์ร่างกายของเด็กอ่อนได้ตายอย่างต่อเนื่องในครรภ์ของมารดา จนในที่สุดก็
ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 
 
This was because her uterus was affected by mobilephone Radiation.
The doctor told her she now has no chance to give birth to a healthy
baby because the radiation has affected her uterus so that the major
portion of the cells in her uterus have already died.
ทั้งนี้เพราะว่าการกระจายรังสีของโทรศัพท์ มือถือมีผลต่อมดลูกของเธอ
แพทย์ได้บอกเธออีกว่า เธอจะไม่มีโอกาศที่จะกำเนิดบุตรที่แข็งแรงได้
เนื่องจากรังสีจากโทรศัพท์มือถือมีผลร้ายแก่มดลูกของเธอ
ทำให้เซลล์ส่วนใหญ่ในมดลูกได้ถูกทำลายและตายไป

This happened because she has been keeping her mobile phone in her working
jacket so that the phone rested against just on the right spot of the uterus.
She had been wearing it like this for a few years.
สาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างนี้เพราะว่าเธอได้ใส่โทรศัพท์ มือถือไว้ในกระเป๋าเสือเจ็กเก็ตตลอดเวลา 
และโทรศัพพ์มือถือจะอยู่ในตำแหน่งมดลูกพอดีซึ่งเธอได้ใส่ในกระเป๋าเสื้ออย่างนี้มา 2-3 ปีแล้ว

Please beware of this and take note if you don't want what has
happened to this woman .. happen to your dearest friend.
ได้โปรดให้ความสนใจและระมัดระวังถ้าคุณไม่อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอมาเกิดขึ้นกับเพื่อนรักของคุณ

Please do not ignore hand phone radiation which will damage our health or body organs. 
Please put away your hand phone whenever you don't need it much.
โปรดอย่าละเลยและไม่ให้ความสนใจกับการกระจายรังสีจากโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถทำลายสุขภาพ
และส่วนต่างๆภายในร่างกายโปรดเก็บมือถือของคุณให้อยู่ห่างๆตัวคุณในขณะที่ไม่ได้ใช้

Guys, Please do not keep your mobile phone near to the kidney position
and pants pocket as this will damage your genital area and affect your
ability to father a baby.
คุณผู้ชายก็ต้องระมัดระวังไม่เก็บมือถือของคุณอยุ่ไกล้กับตับและในกระเป๋ากางเกง
เพราะรังสีจะไปทำความเสียหายและทำลายในบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งมีผลต่อการมีลูก

The other doctor also advised another friend to keep her hand phone
away from her new born baby to avoid radiation damage to the baby's
brain cells.
แพทย์อีกคนหนึ่งยังได้แนะนำเพื่อนอีกคนว่า.. ให้เก็บโทรศัพท์มือถือไว้ห่างๆจากเด็กแรกเกิด 
เพื่อป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากการกระจายรังสี

Do not let the baby or toddler play with the mobile phone. This is because 
the small young baby or toddler is still very fragile and   growing, so he/she
is much more vulnerable to radiation damage.
อย่าให้เด็กอ่อนหรือเด็กเล็กๆเล่นโทรศัพท์มือถือ เพราะว่าเซลล์ต่างๆของร่างกายกำลังเจริญเติบโต
และมีความบอบบาง ถูกทำลายได้ง่ายจากการกระจายรังสี

Please remember not to sleep together with your mobile phone or put it next 
to your bed. Keep any other electronic goods (such as tvs) whichalso give off
radiation away from your bedroomto reduce risk as we have to sleep a few hours
every day in our bedroom at night.
และโปรดจำไว้ด้วยว่าอย่าเก็บโทรศัพท์ไว้ไกล้ตัวในขณะนอนหลับ
และให้เอาอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคเช่น ทีวี ออกจากห้องนอน
ซึ่งทีวีก็มีการกระจายรังสีด้วยเหมือนกัน จะช่วยป้องกันการได้รับรังสีในขณะที่นอนหลับไม่กี่ชัวโมงทุกวัน

Further, do not imagine that if you switch off the TV there will be no
radiation. Actually it is still around in your room.. It is not
advisable to have even a small digital alarm clock close to your head
while sleeping.
และมากไปกว่านั้นอย่าคิดว่าปิดทีวีแล้วจะไม่มีรังสี ยังคงมีอยู่ในห้อง และไม่แนะนำให้มีนาฬิกาปลุก
อิเล็คโทรนิคไว้ไกล้หัวในขณะที่นอนหลับ


Take Care of yourself and your loved ones.
Please pass this on to your friends and family.
I would rather be careful than regret not knowing

ดูแลตัวเองและคนที่คุณรักด้วย
โปรดส่งผ่านไปยังคนในครอบครัวและเพื่อนๆด้วย
ฉันจะระวังมากกว่าที่จะไม่รู้อะไรแล้วมาเสียใจในภายหลัง